Education News !

ขออภัยครับ มีหลายลิงค์ที่เสีย กำลังจัดทำใหม่ครับ!

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 1 บทนำ

ในการสอบภาค ก. เพื่อคัดเลือกผู้ที่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งแรก เมื่อปี 2550 ซึ่งข้อสอบเป็นครั้งแรกที่นำเอาการประเมินสมรรถนะทางการบริหารมาประเมินผู้เข้าสอบ โดยเป็นลักษณะของคำถามที่เป็นสถานการณ์ให้เลือกตอบข้อที่ถูกที่สุด และเป็นข้อสอบที่แฝงจิตวิทยาไว้ด้วย หากผู้เข้าสอบไม่นำหลักการหรือทฤษฎีมาเป็นแนวทางในการตอบ แต่ตอบตามความเคยชิน ทำให้หลายๆท่านสอบไม่ผ่าน และที่สอบผ่านก็คะแนนไม่สูงมากนัก อยู่ในกลุ่ม 60 กว่าๆเป็นส่วนใหญ่
ในการสอบครั้งต่อไปที่คาดกันว่าจะมีขึ้นในปี2552 ผมคิดว่า ข้อสอบจะยากขึ้น และจะเน้นระเบียบหรือแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา มาแฝงในข้อสอบจำนวนมาก ดังนั้นผู้ที่เตรียมการสอบครั้งต่อไป จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจในหลักการกบริหารสถานศึกษา โครงสร้างสถานศึกษา และระเบียบที่เกี่ยวข้องมากมายครับ เรามาเริ่มต้นกันดีกว่าครับ

1. โรงเรียน คืออะไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 โรงเรียน เป็นหนึ่งใน "สถานศึกษา" ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

โรงเรียน นั้นมีความหมายมากกว่าแค่การมี ห้องสี่เหลี่ยม มีโต๊ะ เก้าอี้ มีเด็กนักเรียน และมีครู มีหลักสูตรที่กำหนดเป็นแบบแผนเหมือนกันทั้งประเทศ

โรงเรียน ในความหมายที่ลึกซึ้ง คือ กลไกหนึ่ง ของชุมชนนั้น ที่มีบทบาทในการสร้างคน ให้มีการสร้างพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับสภาพแวดล้อมใกล้ตัว หรือบริบทแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทรัพยากรในท้องถิ่น ฯลฯ และถือว่าการเรียนรู้เรื่องราวเล่านี้เป็นวิชาพื้นฐาน ก่อนที่จะก้าวข้ามไปสู่ การเรียนรู้หลักวิชาสากล เพื่อที่จะนำหลักวิชาเหล่านั้นมาผสานรวมกับวิชาความรู้ในท้องถิ่นของตัว จนได้ นวัตกรรมใหม่ ขึ้นมา

โรงเรียน จึงไม่น่าจะใช่ สถานที่เรียนเพื่อให้สอบผ่าน และได้เพียงแผ่นกระดาษ แผ่นเดียวเท่านั้น และถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่บอกเราว่า "มีการศึกษาแล้ว"

โรงเรียนในประเทศไทย
โรงเรียนจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ. 2414 โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสอนวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และขนบธรรมเนียมราชการ ต่อมายังได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน ฝั่งธนบุรี โรงเรียนทำแผนที่ในกรมมหาดเล็ก โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และ พ.ศ. 2427 ก็โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรทั่วไปขึ้นตามวัดหลายแห่ง อาทิโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น และโรงเรียนหลวงแห่งแรกของราษฎร คือ โรงเรียนวัดมหรรณพารามและมี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯจัดตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น สอนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชินี บริเวณปากคลองตลาด นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเอกชนได้สร้างขึ้นหลายแห่ง เช่น โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งมีบาทหลวงเป็นครูผู้สอน และโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกที่จัดตั้งโดยคนไทย คือ โรงเรียนบำรุงวิชา เมื่อ พ.ศ. 2442

ไม่มีความคิดเห็น:

แบบทดสอบความรู้ด้านกฎหมายการศึกษา

สถิติเยี่ยมชม เริ่มนับ 20 ตค 51